พายุดีเปรสชันเขตร้อน ของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554

รายการพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงสูงสุดเป็นเพียงพายุดีเปรสชัน โดยอาจเป็นพายุที่มีรหัสเรียกตามหลังด้วยตัวอักษร W โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม หรืออาจได้รับชื่อท้องถิ่นจากสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) แต่ไม่ถูกตั้งชื่อตามเกณฑ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวระบุเพียงแต่คำว่า TD (Tropical Depression) หรือพายุดีเปรสชันเท่านั้น

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 01W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา1 – 4 เมษายน
ความรุนแรง55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1004 mbar (hPa; 29.65 inHg)

วันที่ 1 เมษายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นและศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม ได้เฝ้าติดตามบริเวณความกดอากาศต่ำ ที่ก่อตัวขึ้นในทะเลจีนใต้ ห่างจากชายฝั่งนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 535 กิโลเมตร[65] ต่อมาทั้งสองหน่วยงานได้ออกแถลงการณ์โดยทันทีที่ระบบพัฒนาขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ซึ่งนับเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกแรกของฤดูกาล พ.ศ. 2554[66] จากการเฝ้าติดตามพบว่า พายุดีเปรสชันเขตร้อนมีการพัฒนาและเคลื่อนตัวหมุนเป็นวงกลม[67] ต่อมากรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้เริ่มออกคำเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนแก่พายุดังกล่าว[68] เช้าวันที่ 2 เมษายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ให้รหัสเรียกแก่พายุดีเปรสชันเขตร้อนว่า 01W[69] อย่างไรก็ดี ภายในไม่กี่ชั่วโมง พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกนี้เริ่มสูญเสียการพาความร้อนไป เมื่อลมเฉือนเข้ามามีผลกระทบกับระบบ ซึ่งทำให้พายุไม่สามารถทวีกำลังรุนแรงขึ้นได้ ในขณะที่การเคลื่อนตัวของพายุนี้เกือบจะไม่เคลื่อนไปไหน[70] เมื่อไม่มีการพาความร้อนหลงเหลืออยู่ ในวันที่ 3 เมษายน พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกนี้จึงได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ[71] อย่างไรก็ตาม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นยังคงเฝ้าติดตามระบบดังกล่าวในฐานะพายุดีเปรสชันเขตร้อนต่อไปอีกวันหนึ่ง ก่อนออกคำเตือนภัยพายุลูกนี้เป็นครั้งสุดท้าย[72]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 02W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา3 – 6 เมษายน
ความรุนแรง55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1000 mbar (hPa; 29.53 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): อามัง

ในวันที่ 30 มีนาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้เริ่มเฝ้าติดตามหย่อมความกดอากาศต่ำ ที่ตั้งอยู่บริเวณทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะยาป[73] ในวันที่ 2 กันยายน ระบบเริ่มมีการไหลเวียนระดับต่ำ แม้การพาความร้อนของระบบจะยังดูไม่เป็นระเบียบนักก็ตาม หย่อมความกดอากาศต่ำดังกล่าวได้แสดงการไหลออกอย่างดี ภายในบริเวณที่มีลมเฉือนกำลังอ่อน จึงมีการคาดว่าหย่อมดังกล่าวจะพัฒนาขึ้นต่อไปในช่วงอีกหลายวันข้างหน้า ในขณะที่กำลังเคลื่อนตัวเลี้ยวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือเฉตะวันตก[74] หลังพายุได้หยุดชะงักลงชั่วคราวในช่วงเช้าวันที่ 3 เมษายน พายุได้เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนตัวไปทางตะวันออก นอกเหนือจากนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้พิเคราะห์แล้วว่า ระบบหย่อมความกดอากาศต่ำดังกล่าว มีศักยภาพเพียงพอที่จะประกาศให้เป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ในขณะที่ระบบอยู่ทางด้านตะวันตกของเส้นเมริเดียนที่ 135 องศาตะวันออก ส่วนสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ ก็ได้เริ่มออกการประกาศเตือนภัยกับพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกนี้ด้วยเช่นกัน โดยให้ชื่อกับระบบว่า อามัง (Amang)[75] วันที่ 4 เมษายน ในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนืออยู่นั้น ในที่สุดศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ประกาศให้ระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และให้รหัสเรียกว่า 02W อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแนวปะทะอากาศที่กำลังสลายตัวอยู่ทางตะวันตกของพายุนั้น ได้ส่งผลให้พายุลูกนี้เข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนผ่านเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน[76]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 5

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา31 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน
ความรุนแรง<55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1004 mbar (hPa; 29.65 inHg)

ในช่วงเย็นวันที่ 31 พฤษภาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นระบุว่าหย่อมความกดอากาศต่ำทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 7

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา14 – 16 มิถุนายน
ความรุนแรง<55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1004 mbar (hPa; 29.65 inHg)

วันที่ 15 มิถุนายน หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้น บริเวณทางตะวันตกของเกาะปาลาวัน ประเทศฟิลิปปินส์

พายุดีเปรสชันเขตร้อนโกริง

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา8 – 10 กรกฎาคม
ความรุนแรง45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
998 mbar (hPa; 29.47 inHg)

วันที่ 9 กรกฎาคม หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นบริเวณทางตะวันออกของจังหวัดเอาโรราของประเทศฟิลิปปินส์

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 14

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา16 กรกฎาคม
ความรุนแรง<45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1002 mbar (hPa; 29.59 inHg)

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น รายงานว่ามีพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ใกล้กับมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน จากนั้นพายุดีเปรสชันเขตร้อนก็สลายตัวอย่างรวดเร็วหลังจากก่อตัวขึ้นเพียง 6 ชั่วโมง

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 15

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา16 – 17 กรกฎาคม
ความรุนแรง<55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
998 mbar (hPa; 29.47 inHg)

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นรายงานว่าพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นบริเวณมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน หลังจากนั้นพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกนี้ได้สลายตัวไป

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลันโด

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา31 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม
ความรุนแรง45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1002 mbar (hPa; 29.59 inHg)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 19

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา3 – 4 สิงหาคม
ความรุนแรง55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1008 mbar (hPa; 29.77 inHg)

ในช่วงวันที่ 3 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนได้ก่อตัวขึ้นบริเวณใกล้กับเกาะโบนิน และเคลื่อนตัวไปเรื่อย ๆ อย่างช้า ๆ ต่อมาในช่วงสายของวันที่ 4 สิงหาคมพายุดีเปรสชันเขตร้อนก็ได้สลายตัวไปบริเวณคาบสมุทรกี

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 13W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา8 – 14 สิงหาคม
ความรุนแรง55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1002 mbar (hPa; 29.59 inHg)

ช่วงสายของวันที่ 8 สิงหาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับระดับความกดอากาศต่ำเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ขณะที่ระบบอยู่ใกล้กับเกาะกวม

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 21

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา8 – 10 สิงหาคม
ความรุนแรง55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1008 mbar (hPa; 29.77 inHg)

ช่วงวันที่ 8 สิงหาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นปรับระดับความกดอากาศต่ำเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ขณะที่มันอยู่บริเวณใกล้กับเกาะมินะมิโตะริชิมะ[77] หลังจากนั้นมันค่อย ๆ เคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ จนวันที่ 10 สิงหาคม มันจึงค่อย ๆ สลายตัวไป[78]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 22

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา21 – 26 สิงหาคม
ความรุนแรง55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1002 mbar (hPa; 29.59 inHg)

ในวันที่ 19 สิงหาคม หย่อมความกดอากาศต่ำได้ก่อตัวขึ้นทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะกวม[79]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 29

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา14 – 15 กันยายน
ความรุนแรง<55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1002 mbar (hPa; 29.59 inHg)

วันที่ 14 กันยายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้เริ่มเฝ้าสังเกตการณ์พายุดีเปรสชันเขตร้อน แต่เนื่องจากมันไม่มีกำลังพอที่จะกลายเป็นพายุขนาดใหญ่ได้ ทำให้กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นหยุดติดตามพายุลูกนี้ในวันที่ 15 กันยายน[80]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 34

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา11 – 13 ตุลาคม
ความรุนแรง<55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1006 mbar (hPa; 29.71 inHg)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 24W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา7 – 8 พฤศจิกายน
ความรุนแรง<45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1004 mbar (hPa; 29.65 inHg)

ในวันที่ 5 พฤศจิกายน มีการพบหย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ ต่อมาในวันที่ 6 พฤศจิกายน หย่อมความกดอากาศต่ำเริ่มเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกและเริ่มเข้าใกล้ประเทศเวียดนาม ในวันที่ 7 พฤศจิกายน หย่อมความกดอากาศต่ำเริ่มได้รับการตรวจสอบจากศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) และถูกประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุไซโคลนเขตร้อน (TCFA) ในวันเดียวกันนั้น ต่อมา JTWC ได้เพิ่มระดับความรุนแรงของหย่อมความกดอากาศต่ำขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนและใช้รหัสเรียก 24W กับระบบ ในตอนเย็น กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ก็ประกาศเพิ่มระดับความรุนแรงของระบบเช่นกัน จนวันที่ 8 พฤศจิกายน JTWC ได้ออกคำเตือนฉบับสุดท้ายเกี่ยวกับระบบเนื่องจากมันเริ่มอ่อนกำลังลง จากมวลอากาศเย็นที่อยู่ทางเหนือของพายุ และในวันที่ 10 พฤศจิกายน JMA รายงานว่าระบบได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 25W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา3 – 5 ธันวาคม
ความรุนแรง45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
1006 mbar (hPa; 29.71 inHg)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 26W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา10 – 14 ธันวาคม
ความรุนแรง55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1004 mbar (hPa; 29.65 inHg)

ใกล้เคียง

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2546 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2547 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2558

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554 http://tcdata.typhoon.gov.cn/en/ http://tcrr.typhoon.gov.cn/EN/article/downloadArti... http://thoughtleadership.aonbenfield.com/Documents... http://www.australiasevereweather.com/cyclones/200... http://blackteacentral.com/nalgae-leaves-18-dead-i... http://vizagbom.blogspot.com/2011/09/jma-tropical-... http://vizagbom.blogspot.com/2011/09/jma-tropical-... http://vizagbom.blogspot.com/2011/09/jma-tropical-... http://vizagbom.blogspot.com/2011/09/jma-tropical-... http://vizagbom.blogspot.com/2011/09/jma-tropical-...